วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2563

COVID-19

 โรคระบาด COVID-19 

COVID-19 คืออะไร???

โรค COVID-19 คือ โรคติดเชื้อจากไวรัสชนิดหนึ่ง ซึ่งพบการระบาดในช่วงปี 2019 ที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน โดยในตอนนั้นเราจะรู้จักกันโรคนี้ในชื่อว่า ไวรัสอู่ฮั่น ก่อนที่ภายหลังจะระบุเชื้อก่อโรคได้ว่าเป็นเชื้อในตระกูลโคโรนาไวรัส แต่เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้น ทางองค์การอนามัยโลก จึงได้ตั้งชื่อโรคติดต่อชนิดนี้ใหม่อย่างเป็นทางการ โดยมีชื่อว่า COVID-19  เพื่อไม่ให้เกิดรอยมลทินกับพื้นที่ที่เกิดการระบาดของโรคด้วย
COVID-19 มีต้นตอมาจากอะไร???
COVID-19

          จากการศึกษาทางพันธุกรรมของไวรัส และการเรียงลำดับของรหัสแต่ละตัวทำให้พบต้นตอของเชื้อCOVID-19 ว่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ชนิดนี้มีจำนวนนิวคลีโอไทด์ที่เหมือนกันถึงร้อยละ 89.1 ของเชื้อ SARS-like coronaviruses ในค้างคาวที่เคยพบในประเทศจีน และในภายหลังก็มีข้อมูลที่ยืนยันว่า ต้นตอของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 เกิดจากการผสมสารพันธุกรรมระหว่างโคโรนาไวรัสของค้างคาวกับโคโรนาไวรัสในงูเห่า กลายพันธุ์เป็นโคโรนาไวรัส สายพันธุ์ SARS-CoV-2 ที่แพร่เชื้อจากงูเห่ามายังคนไดh

 เราสามารถป้องกันการติดเชื้อCOVID-19ได้ ดังนี้
  1. หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค

  2. สวมหน้ากากอนามัย ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการสูดดมละอองฝอยขนาดใหญ่ได้ถึง              80%
  3. อยู่ห่างจากผู้ป่วย หรือผู้ที่มีอาการไอ จาม อย่างน้อย 2 เมตร
  4. ล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะหลังจับหรือใช้ของสาธารณะ หลังเข้าห้องน้ำ และ

      ก่อนรับประทานอาหาร
  5. หลีกเลี่ยงการเอามือสัมผัสใบหน้า และดวงตา
  6. กินอาหารปรุงร้อน สดใหม่ และใช้ช้อนกลางทุกครั้ง


การดำเนินการประเทศไทย

-มีการประกาศเคอร์ฟิวตั้งแต่4ทุ่ม ถึง ตี4

-ห้ามชุมนุมหรือรวมกลุ่มกันเกิน3คน

-ให้นักเรียนทุกคนเรียนออนไลน์

-เว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร

-ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งก่อนออกจากบ้าน

-งดสถานที่บันเทิง

-work from home 

-ไม่ออกจากบ้านหากไม่จำเป็น









วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2563

3.3 ยุค 5G/6G , Iot , AI

  ยุค  5G/6G ,  Iot  , AI

ยุค 5G

และล่าสุดเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ถ้าใครติดตามแบไต๋อย่างต่อเนื่อง เราก็ได้เปิดเผยข้อมูลของอินเทอร์เน็ตในยุค 5G ซึ่งได้จากงาน HUAWEI MBB Forum 2017 ว่า มันคืออนาคตอันใกล้ของ 5G ที่เรากำลังก้าวไปถึง มีความสามารถต่าง ๆ มากมายไม่ว่าจะเป็นเรื่องการกระจายสัญญาณได้สูงถึง 300 เมตร หรือสูงประมาณตึกใบหยกเลยทีเดียว


นอกจากนี้ยังมีค่าความหน่วงของการเชื่อมต่อที่ลดลงมาจนต่ำกว่า 20 มิลลิวินาที สามารถรับ – ส่งข้อมูลได้ที่ระดับ 20 Gbps โดยจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการพร้อมใช้งานจริง “ครั้งแรก” ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค TOKYO 2020 ที่ประเทศญี่ปุ่น และเริ่มมีการใช้งานจริงบ้างแล้วโดย BBC (แต่เหมือนกับจะยังไม่สมบูรณ์ 100% เท่าไรนัก ภาพงี้แตกเชียว)




ยุค 6G

6g คือ เทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแห่งโลกอนาคตโดยแท้จริง เพราะเรียนรู้ที่จะเคลื่อนที่ได้เองวิเคราะห์และแก้ปัญหาได้เอง จากการสืบค้นข้อมูลอย่างรวดเร็ว โดยในยุค 6g นั้นจะเป็นยุคที่การสื่อสาร ได้รับการแก้ไขในเรื่องคลื่นรวมทั้งการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาผสมผสาน สำหรับความน่าสนใจอีกประการหนึ่ง ก็คือ เมื่อระบบ AI นั้นทำงานผ่าน Application ไปได้สักพักหนึ่ง มันก็จะเริ่มเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง เช่น เรียนรู้เรื่องการขับยานพาหนะ, เรียนรู้เรื่องการทำการเกษตรและเมื่อมันสะสมความรู้ได้มากพอหลังจากนั้นก็จะเกิดการตัดสินใจได้ด้วยตัวเองตามมา


ยุค Iot


Internet of Things (IoT) คือ การที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ สามารถเชื่อมโยงหรือส่งข้อมูลถึงกันได้ด้วยอินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องป้อนข้อมูล การเชื่อมโยงนี้ง่ายจนทำให้เราสามารถสั่งการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ ไปจนถึงการเชื่อมโยงการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้ากับการใช้งานอื่นๆ จนเกิดเป็นบรรดา Smart ต่างๆ ได้แก่ Smart Device, Smart Grid, Smart Home, Smart Network, Smart Intelligent Transportation ทั้งหลายที่เราเคยได้ยินนั่นเอง ซึ่งแตกต่างจากในอดีตที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเพียงสื่อกลางในการส่งและแสดงข้อมูลเท่านั้น


ยุค AI

คำว่า AI ย่อมาจาก Artificial Intelligence หรือ ปัญญาประดิษฐ์ ถือเป็นศาสตร์วิทยาการทางคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่ผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยต่างลงมือทุ่มเทสุดตัวพยายามพัฒนาทำให้สิ่งนี้ฉลาด เหมาะสม และบริบูรณ์ด้วยความสามารถอันเปี่ยมล้น ศาสตร์นี้ไม่ได้เพิ่งจะมาพัฒนากันไม่กี่ปี หากแต่แนวความคิดนี้มีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ และถูกพัฒนาส่งต่อมากว่าหลายร้อยปีจนมาถึงยุคปัจจุบัน เราเชื่อว่าจากนี้ไปในปี  2018 ปัญญาประดิษฐ์จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ จนคุณแทบจะลืมไปเลยว่าก่อนหน้านี้เราต่างเคยใช้ชีวิตกันยังไงโดยที่ไม่มีเจ้านวัตกรรมใหม่นี้ขึ้นมา

 

การทำงานของ AI คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาให้มีตรรกะการคิดเป็นของตัวเอง เป็นตัวแทนของมนุษย์ที่มีความชาญฉลาด สามารถทำงานหรือใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหาในด้านความเป็นเหตุเป็นผล โดยเชาว์ปัญญานั้นสามารถแสดงเหตุผล การเรียนรู้ การวางแผนหรือนำเสนอความสามารถอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น การประมวลผลจากข้อมูลที่เราให้ไป หรือการแสดงผลอัตโนมัติจากข้อมูลที่มีอยู่ เรียกได้ว่าเลียนแบบโครงข่ายประสาทของสมองของมนุษย์เลยทีเดียว ซึ่งในปัจจุบันการทำงานของ  AI มีความแม่นยำสูงมาก จนแทบไม่พบข้อมูลผิดพลาด ทั้งยังสามารถทำงานได้ในระยะเวลาที่กำหนด และทำได้ตลอดเวลา 24 ชม. 7 วันเลยทีเดียว

สรุปแล้ว AI จะเข้ามามีบทบาทกับคนทั้งโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะมันคือสิ่งประดิษฐ์ที่สุดยอดที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษย์


อ้างอิง : 

https://www.sanook.com/hitech/1479921/

https://www.aware.co.th/iot-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/

https://www.aware.co.th/%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87-ai-%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%99%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/


 


3.2 Big Data

 Big Data


Big Data คืออะไร?

Big Data คือ ข้อมูลขนาดใหญ่มากจนซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ธรรมดานั้นไม่สามารถที่จะจัดการหรือวิเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


Big Data มีคุณลักษณะสำคัญอยู่ 4 อย่าง คือ  

  • ปริมาตร (Volume) หมายถึง ข้อมูลนั้นมันต้องมีขนาดใหญ่มาก ซึ่งไม่สามารถประมวลผลปริมาณของข้อมูลด้วยระบบฐานข้อมูลได้ จำเป็นต้องใช้คลังข้อมูล (Data Warehouse) และซอฟต์แวร์ฮาดูป (Hadoop) ทำงานประสานกันในการบริหารจัดการข้อมูล
  • ความเร็ว (Velocity) หมายถึง ข้อมูลดังกล่าวต้องมีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ข้อมูลจากภาพถ่ายโทรศัพท์ที่ถูกอับโหลดขึ้น ข้อมูลการพิมพ์สนทนา ข้อมูลวิดีโอ รวมไปถึงข้อมูลการสั่งซื้อสิ้นค้า พูดง่าย ๆ คือ ข้อมูลที่มีการเพิ่มขึ้นตลอดเวลาแบบไม่มีหยุดยั้งนั่นแหละ
  • ความหลากหลาย (Variety) หมายถึง รูปแบบข้อมูลต้องมีความหลากหลาย อาจจะเป็นข้อมูลที่มีโครงสร้าง ไม่มีโครงสร้าง และกึ่งมีโครงสร้าง ซึ่งผมไม่ขอลงลึกนะเพราะมันซับซ้อนมาก แต่เอาเป็นว่ารูปแบบข้อมูลของ Big Data มันมีทุกอย่าง ไม่ได้จำกัดแค่พวกข้อความ อีเมล์ รูปภาพ ฯลฯ เท่านั้น
  • Veracity ไม่สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลที่สมบูรณ์ เพื่อการประกอบการพิจารณาได้


Big Data สำคัญอย่างไร?

ช่วยให้คุณสามารถใช้ข้อมูลจากทุกแหล่งที่เป็นไปได้ และวิเคราะห์เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่คุณต้องการ ซึ่งช่วยให้คุณสามารถเข้าใจผู้บริโภคได้มากขึ้น (Customer Insight) ลดต้นทุนได้ ลดเวลาระยะเวลาดำเนินการ และสามารถตัดสินใจได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ปัจจุบันหลายบริษัทได้นำBig Data มาประยุกต์ใช้ในส่วนของการขายและการตลาดของธุรกิจ เครื่องมือที่ใช้สำหรับการรองรับ Big Data แบบที่เราเข้าใจได้ง่ายๆ และเห็นอยู่บ่อยๆ ก็อย่างเช่น Google Analytics หรือ ระบบERP เป็นต้น



ที่มา





3.1 วิทยาการข้อมูล(data science)

 วิทยาการข้อมูล(data science)

วิทยาการข้อมูล หรือ Data Science คือ ศาสตร์ที่เกี่ยวกับการจัดการ จัดเก็บ รวบรวม ตรวจสอบ วิเคราะห์ วิจัย และนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปสู่ความรู้ที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง(Actionable knowledge) อย่างเช่น กระบวนการดำเนินงาน ประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจ การวางแผนการตลาด Data Science ไม่ใช่ศาสตร์ใหม่ แต่มันคือการนำความรู้เดิมที่มีอยู่มารวมและประยุกต์เข้าด้วยกันจนเกิดเป็นของใหม่ ด้วยลักษณะของข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในโลกปัจจุบัน การเข้ามาของ Internet of Things   ตลอดจน Social media ทำให้เกิดเป็นข้อมูลปริมาณมหาศาล และนำมาสู่ Data Science นั่นเอง


ที่มาของตำแหน่ง นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) 
ตำแหน่งงาน Data Scientist ถูกตั้งขึ้นโดย  DJ Patil และ Jeff Hammerbacher ในปี 2008 โดยทั้งคู่เป็น ผู้บุกเบิกการสร้างทีม Data Science ที่ LinkedIn และ Facebook และตอนนี้ DJ Patil ได้รับแต่งตั้งให้เป็น Chief Data Scientist of the United States ไปเรียบร้อย


ผลลัพธ์ที่ได้จาก Data Science 

- ค้นพบสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อนจากข้อมูลที่ได้

- ได้ Predictive Model เพื่อนำไปปฏิบัติจริง

- สร้าง Data Product ใหม่ๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจ

- ช่วยให้ฝ่ายธุรกิจมีความมั่นใจและสามารถตัดสินใจได้ดีขึ้น


ทักษะที่ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) ต้องมี!!! 
1 ความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science)
2 ความรู้ด้านคณิตศาสตร์และสถิติ (Math&Statistics)
3 ความรู้เฉพาะสาขา (Domain Knowledge)
4 ความอยากรู้อยากเห็นและความคิดสร้างสรรค์ (Curiosity & Creativity)



ที่มา https://www.admissionpremium.com/it/news/3079

วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ข้อมูลมีค่า

 ข้อมูลคุณค่า

            ข้อมูลคืออะไร???

              ข้อมูล (Data)   หมายถึง   ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่ โดยอยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล    ซึ่งข้อมูลอาจจะ ได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด

               เช่น การเก็บข้อมูลของแอปพลิเคชั่น Facebook โดย Facebook จะเก็บข้อมูลจากเราจาการที่เรา กดถูกใจโพสต์ หรือ บทความไหนบ่อยๆ แล้วจะทำการขึ้นขึ้นข่าว หรือบทความที่เราสนใจ ที่หน้าฝืดของเรา


            ข้อมูลมีคุณค่าอย่างไร???

“ในยุคของข้อมูลและสารสนเทศ มีปริมาณข้อมูลเพิ่มมากขึ้นทุกวัน จากผู้ใช้ที่มีอยู่ทั่วโลกจำนวนมาก ทำให้ข้อมูลกลายเป็นสิ่งที่มีมูลค่ามหาศาล มีการใช้ศาสตร์ที่เรียกว่าวิทยาการข้อมูล (data science) ซึ่งมีความสำคัญและช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจความหมายของข้อมูล และในขณะเดียวกันผู้ใช้จะได้รับความรู้จากข้อมูลที่ผ่านกระบวนการวิทยาการข้อมูลด้วย” — หนังสือเรียนเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ ม.5)

     

ในยุคของข้อมูลและสารสนเทศ ข้อมูลเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง และถูกนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆเช่น ด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม การเกษตร และการคมนาคม

บริษัทต่างๆ นำข้อมูลดิจิทัลมาใช้ประโยชน์ทำให้เกิดมูลค่าม หาศาล เช่น Grab Bike  Food Panda ขายสินค้าออนไลน์ Shopee และบริการสื่อสังคมต่างๆ (social media)

ยกตัวอย่างแอปพลิเคชั่นที่ให้บริการโหลดแอปฟรี แต่ เก็บค่าบริการเป็นข้อมูลของผู้ใช้แทน เช่น

เฟซบุ๊ก (Facebook) เป็นบริษัทให้บริการสื่อสังคม มีผู้ใช้หลายล้านคนทั่วโลกโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย แต่สามารถสร้างรายได้จากการขายโฆษณาที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย  ของบริษัทสินค้าและบริการ

  • เฟซบุ๊ก รวบรวมข้อมูลผู้ใช้ เช่น เพศ อายุ ที่อยู่ อาชีพ รวมถึงพฤติกรรมการใช้งานที่ผู้ใช้กระทำผ่านเฟซบุ๊ก ได้แก่ การกดถูกใจ (like) กดแชร์ (share)
  • เฟซบุ๊ก นำข้อมูลเหล่านี้มาประมวลผลเป็นสารสนเทศที่บอกคุณลักษณะของผู้ใช้ และใช้สารสนเทศนี้ในการนำเสนอหรือโฆษณาสินค้าหรือบริการ
  • บริษัทเจ้าของสินค้าหรือบริการ จะจ่ายค่าโฆษณาให้กับเฟซบุ๊ก